ระยะของมะเร็งปากมดลูก ( Stages of cervical cancer )
หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่าเซลล์มะเร็งกระจายไปที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
หรือไม่ ข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจเพิ่มเติมจะนำมาใช้ประกอบการจำแนกระยะของโรคได้ เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาต่อไป
การตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่ามะเร็งอยู่เฉพาะในปากมดลูกหรือกระจายไปส่วนอื่นๆของร่างกายนั้น ได้แก่
- การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด เป็นการเอ็กซเรย์ของอวัยวะที่อยู่ในช่องอก เช่น ปอด หัวใจ และกระดูกเป็นต้น การเอ็กซเรย์
คือ การส่งลำพลังงาน ชนิดหนึ่งผ่านร่างกายของคนไปตกลงบนฟิล์ม ทำให้เกิดรูปภาพของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
- การถ่ายเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นการสร้างชุดของภาพที่มีรายละเอียดของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งถูก
ถ่ายมาจากมุมที่แตกต่างกัน รูปภาพที่ได้มานั้นถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องเอ็กซเรย์ นอกจากนี้อาจมีการฉีดสาร
ทึบรังสีเข้าสู่เส้นเลือดดำหรือกลืนสารทึบรังสีเพื่อช่วยในการมองดูภาพของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
- การถ่ายภาพระบบน้ำเหลือง ( Lymphangiogram ) เป็นการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของระบบน้ำเหลือง โดยจะมีการฉีด
สารทึบรังสีเข้าไปในหลอดน้ำเหลืองที่เท้า แล้วสารทึบรังสีนั้นจะเคลื่อนที่ขึ้นผ่านต่อมน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลืองต่างๆ และจากนั้น
ก็จะมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ภาพที่ได้จะบอกถึงการอุดกั้นของระบบน้ำเหลือง ซึ่งจะบอกได้ว่ามะเร็งกระจายไปยังที่ต่อมน้ำเหลืองใดบ้าง
- การผ่าตัดเพื่อประเมินระยะของโรคก่อนการรักษา (Pretreatment surgical staging) เป็นการผ่าตัดเพื่อหาว่ามะเร็ง
นั้นอยู่เฉพาะที่ปากมดลูกหรือกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายในบางรายมะเร็งปากมดลูกอาจถูกตัดออกไปทั้งหมดในขณะเดียวกันนี้
ด้วยการผ่าตัด เพื่อประเมินระยะของโรคนี้มักจะทำในส่วนหนึ่งของการทดลองเท่านั้น
- การตรวจอัลตราซาวน์ ( Ultrasound exam ) เป็นการตรวจที่ใช้เสียงที่มีพลังงานสูงผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ
ภายใน จากนั้นจึงมีการสร้างออกมาเป็นภาพการถ่ายภาพจากการสั่นพ้องพลังแม่เหล็ก หรือ เอ็ม อาร์ ไอ ( MRI ) เป็นการใช้แม่เหล็ก
คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ในการสร้างชุดของรายละเอียดของภาพของร่างกาย
ผลของการตรวจต่างๆจะถูกนำมาแปลผลร่วมกับผลของการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อจะบอกถึงระยะของมะเร็งปากมดลูก
การกระจายของมะเร็งปากมดลูกนั้นมี 3 วิธี
การกระจายของมะเร็งปากมดลูกไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกายมี 3 วิธี คือ
1.กระจายผ่านเนื้อเยื่อ มะเร็งจะลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติที่อยู่รอบๆ
2.กระจายผ่านระบบน้ำเหลือง มะเร็งจะลุกลามเข้าในระบบน้ำเหลืองแล้วจากนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านหลอดน้ำเหลืองไปสู่
ส่วนอื่นๆของร่างกาย
3.กระจายผ่านระบบเลือด มะเร็งจะลุกลามเข้าไปในเส้นเลือดดำและเส้นเลือดฝอย แล้วจากนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านเส้นเลือด
ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
เมื่อเซลล์มะเร็งกระจายจากก้อนมะเร็งต้นกำเนิดผ่านไปทางหลอดน้ำเหลือง หรือเส้นเลือดต่างๆ ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายนั้น
อาจจะเกิดการสร้างตัวเป็นก้อนมะเร็งขึ้นมาใหม่ในที่อื่นๆ การกระจายของก้อนมะเร็งดังกล่าวนั้น เรียกว่า เมแทสเตสิส ( metastasis )
หรือ การกระจายของมะเร็ง ก้อนมะเร็งที่กระจายนั้นจะมีเซลล์ชนิดเดียวกันกับมะเร็งต้นกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามะเร็งเต้านมกระจายไป
ยังกระดูก เซลล์มะเร็งที่พบที่กระดูกจะเป็นเซลล์มะเร็งเต้านม ไม่ใช่มะเร็งของกระดูก
ระยะของมะเร็งปากมดลูกแบ่งได้ดังนี้
ระยะที่ 0 ( พบเซลล์ผิดปกติแต่ไม่ใช่มะเร็ง – Carcinoma in situ )
ระยะที่ 0 คือการตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณผิวนอกสุดของปากมดลูกโดยยังไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ผิดปกตินี้อาจจะ
กลายเป็นเซลล์มะเร็ง ในเวลาถัดมาและอาจกระจายไปยังเนื้อเยื่อปกติบริเวณนั้นได้ ระยะที่ 0 เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Carcinoma in situ
ระยะที่ 1
ระยะที่ 1 คือการตรวจพบมะเร็งอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น ในระยะที่ 1 นี้แบ่งออกเป็น ระยะ 1 เอ (1A) และ ระยะ 1 บี (1B)
ซึ่งแบ่งโดยขนาดของมะเร็งที่ตรวจพบ
ระยะ 1A เป็นระยะที่พบมะเร็งน้อยมาก สามารถเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ระยะนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นระยะ 1 เอ 1
(1A1) และระยะ 1 เอ 2 (1A2) โดยแบ่งจากขนาดของมะเร็ง
ระยะ 1A1 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 มิลลิเมตร และ ความกว้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 มิลลิเมตร
ระยะ 1A2 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกมากกว่า 3 มิลลิเมตร แต่ไม่มากกว่า 5 มิลลิเมตร และ ความกว้างน้อยกว่าหรือ
เท่ากับ 7 มิลลิเมตร
ระยะ 1B เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกมากกว่า 5 มิลลิเมตร หรือ ความกว้างมากกว่า 7 มิลลิเมตร หรือสามารถมองเห็น
มะเร็งได้ด้วยตาเปล่า โดยมะเร็งจะยังคงอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น ระยะนี้สามารถแบ่งออกเป็น ระยะ 1 บี 1 (1B1) และระยะ 1 บี 2 (1B2)
โดยแบ่งจากขนาดของมะเร็ง
ระยะ 1B1 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 4 เซนติเมตร
ระยะ 1B2 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร
ระยะที่ 2
ระยะที่ 2 คือการตรวจพบมะเร็งกระจายออกไปจากปากมดลูกแล้วแต่ยังไม่ถึงเนื้อเยื่อของผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน
( pelvic wall ) หรือมีการกระจายไปยังช่องคลอดแล้วแต่ยังไม่ถึงหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด ระยะที่ 2 นี้ยังแบ่งออกเป็น
ระยะ 2 เอ (2A) และ 2 บี (2B) ซึ่งแบ่งโดยความไกลในการกระจายของมะเร็ง
ระยะ 2A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกไปยังสองในสามส่วนบนของช่องคลอด แต่ยังไม่มีการกระจายเข้าไปใน
เนื้อเยื่อข้างตัวมดลูก
ระยะ 2B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกไปยังเนื้อเยื่อข้างตัวมดลูก
ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 คือการตรวจพบว่ามะเร็งกระจายออกไปยังหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด โดยอาจจะมีการกระจายไปยังผนังด้าน
ข้างของอุ้งเชิงกราน และ/หรือ ทำให้ไตทำงานได้แย่ลง ในระยะที่ 3 นี้แบ่งออกเป็น ระยะ 3 เอ (3A) และ ระยะ 3 บี (3B) ซึ่งแบ่งโดย
ความไกลในการกระจายของมะเร็ง
ระยะ 3A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด แต่ยังไม่มีการกระจายไปยังผนังด้านข้างของ
อุ้งเชิงกราน
ระยะ 3B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน และ/หรือ มะเร็งขยายตัวไปกดบริเวณท่อไต (Ureter)
ทำให้เกิดการอุดตันของระบบปัสสาวะทำให้ไตมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำงานได้แย่ลง ในระยะนี้อาจจะพบว่า เซลล์มะเร็งกระจายไปยัง
ต่อมน้ำเหลือง ภายในอุ้งเชิงกราน
ระยะที่ 4
ระยะที่ 4 คือการตรวจพบว่ามะเร็งกระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก หรือส่วนอื่นๆของร่างกาย ในระยะนี้จะแบ่งออก
เป็นระยะ 4 เอ (4A) และ ระยะ 4 บี (4B) ซึ่งแบ่งจากตำแหน่งที่มะเร็งกระจาย
ระยะ 4A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะหรือทวารหนัก
ระยะ 4B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากอุ้งเชิงกราน ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ช่องท้อง ตับ ลำไส้ หรือปอด เป็นต้น
ที่มา
http://www.chulacancer.net/newpage/information/cervix_cancer04.html
No comments:
Post a Comment