Thursday, June 14, 2012

มะเร็งตับอ่อน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งตับอ่อน

ระบาดวิทยาของโรค

- พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย

- พบในคนอายุมาก สองในสามของผู้ป่วยใหม่มีอายุมากกว่า 65 ปี

- พบในชนชาติผิวดำมากกว่าชนชาติผิวขาว

- พบชนิด adenocarcinoma มากที่สุด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่ชัดเจนเช่นกัน มีปัจจัยบางอย่างที่น่าจะเกี่ยวข้อง เช่น

- การสูบบุหรี่ ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึงสองเท่า

- การทานอาหารที่มี Nitrosarmine compounds ซึ่งพบว่ามีความเกี่ยวของในหนู

- ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งตับอ่อน

อาการและลักษณะที่ตรวจพบ

อาการทั่วไป ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอาการเหล่านี้ไม่จำเพาะเจาะจงกับโรค ดังนั้นอาจทำให้การวินิจฉัยล่าช้าได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากตัวก้อนกดทางเดินน้ำดีคลำถุงน้ำดีได้จากทางหน้าท้อง หรือ มีน้ำตาลในเลือดผิดปกติได้

การตรวจวินิจฉัยที่จำเป็น

1. การตรวจร่างกายทั่วไป

2. การเจาะตรวจเลือด เช่น ตรวจการทำงานของตับ, การตรวจ CA 19-9

3. การส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อช่วยวินิจฉัยขนาดและตำแหน่งของก้อน

4. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

5. การทำเอกซเรย์เพื่อช่วยวินิจฉัยและบอกขอบเขตของโรค โดยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

ที่ช่องท้องสามารถบอกถึงโอกาสการผ่าตัดได้สำเร็จ และการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือ ตับได้

6. การทำ Endoscopic ultrasound สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เช่นกัน

การรักษา

การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของมะเร็งชนิดนี้สำหรับตัวโรคที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย ไปอวัยวะอื่นไม่มีการลุกลามเข้าไปยังเล้นเลือด Superior mesenteric and portal vein , ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถผ่าตัดได้ประโยชน์ของการผ่าตัดก็ยังมีหลายทาง เช่น การตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป หรือการลดอาการเหลืองของผู้ป่วยที่เกิดจากก้อนกดทับทางเดินน้ำดี โดยการผ่าตัดที่เรียกว่า Choledochojejunostomy

การฉายแสง มีหลายวัตถุประสงค์ คือ

- การฉายรังสีก่อนผ่าตัด จุดประสงค์เพื่อลดขนาดของก้อนให้สามารถผ่าตัดได้ ซึ่งมีทั้งใช้ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดหรือฉายแสงเพียงอย่างเดียว

- การฉายแสงหลังผ่าตัด เพื่อเพิ่มอัตราการควบคุมตัวโรคเฉพาะที่และเพิ่มอัตรารอดชีวิตให้กับผู้ป่วย

- การฉายแสงตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งทำเมื่อไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือ ผู้ป่วยไม่แข็งแรงเพียงพอ โดยมีทั้งการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย หรือฉายแสงอย่างเดียว

- การฉายแสงเพื่อบรรเทาอาการ (Palliative radiation)

การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาร่วมกับรังสีดังที่กล่าวข้างต้น หรือให้เคมีบำบัด เพียงอย่างเดียวเสริมการรักษาโดยการผ่าตัดกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่นแล้ว การให้ยาเคมีบำบัดเพื่อประคับประคองตัวโรค (Palliative chemotherapy) มีบทบาทสำคัญ

มะเร็งตับอ่อน ภัยสุขภาพ

ภัยสุขภาพที่เราอยากจะเตือน ทุกคนเกี่ยวกับมะเร็งที่ร้านแรงชนิดหนึ่งคือ มะเร็งตับอ่อน ผู้ป่วยสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่สามารถทราบรู้ล่วงหน้ามาก่อน อันตรายต่อสุขภาพมาก แม้กระทั่ง คร่าชีวิต "สตีฟ จ็อบส์" ซีอีโอผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ล มาแล้ว

     มะเร็งเป็นโรคร้ายอันดับต้นของสุขภาพ ที่ผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องมีภาวะที่เสี่ยงกับความตายเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อมีข่าวการเสียชีวิตบุคคลระดับโลกอย่าง  "สตีฟ จ็อบส์" ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple ผู้ทรงอิทธิพลระดับโลก ที่ก็ต้องพ่ายแพ้กับสุขภาพตัวเอง เสียชีวิตไปอย่างน่าเสียดายในวัย 56 ปีด้วยโรค"มะเร็งตับอ่อน" ที่เค้าพยายามสู้ทนรักษาตัวมานานกว่า 8 ปี จนในที่สุด สุขภาพร่างกาย ทรุดแย่ลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถรักษาได้จึงจบชีวิตไปด้วยความโศกเศร้า

      ภาพล่าสุดของ สตีฟ จ็อบส์ หลังจากเค้าลาออกจากการเป็น ซีอีโอบริษัทแอปเปิ้ล จะเห็นได้ว่า...แม้ว่าคุณจะมีทรัพย์สินเงินทอง หรือมีชื่อเสียง อิทธิพลมากแค่ไหน ต่างก็ไม่มีทรัพย์สินไหนยิ่งใหญ่ไปกว่า การมีสุขภาพที่ดี เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เราควรที่จะเอาใจใส่ ดุแลสุขภาพ ตั้งแต่วันนี้เพื่ออนาคตที่ดี สุขภาพที่ดี วันนี้เราลองมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ " โรคมะเร็งตับอ่อน "

     เพราะหลายๆคนอาจจะคุ้นหูกับ โรคมะเร็งตับ มากกว่า แต่โรคมะเร็งตับอ่อน อาจจะยังไม่คุ้น เพราะเป็นโรคที่อันตรายต่อสุขภาพมาก และที่สำคัญเป็น โรคมะเร็งตับอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด  ดังนั้นการดูและป้องกัน จึงค่อนข้างยากลำบาก ทางที่ดีเราควรที่จะเริ่มมาดูแลสุขภาพร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลโรคภัยต่างๆกันดีกว่าค่ะ ทำมาความรู้จักกับ โรคมะเร็งตับอ่อน กันค่ะ

มะเร็งตับอ่อน เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ เนื่องจาก ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่หลัง เยื่อบุช่องท้อง การตรวจวินิจฉัยค่อน ข้างยาก และอาการจะปรากฎเมื่อ มะเร็งมักจะลุกลามมากแล้ว

อุบัติการณ์ "มะเร็งตับอ่อน"

การเกิดมะเร็งตับอ่อนในประเทศไทย พบว่า มีประมาณ 1 % ของมะเร็งทางเดินอาหาร พบมากในเพศชาย มากกว่าเพศหญิงประมาณ 4 เท่า อายุที่พบเฉลี่ย 40-70 ปี

สาเหตุ "มะเร็งตับอ่อน"

สาเหตุของมะเร็งชนิดนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่ เนื้องอกในตับอ่อนบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็ง ได้ ปัจจัยบางอย่างที่เชื่อว่าอาจทำให้เกิด มะเร็งตับอ่อนได้ คือ บุหรี่ และโรคเบาหวาน

อาการ "มะเร็งตับอ่อน"

จะมีอาการแล้วแต่ตำแหน่งของมะเร็งที่พบว่า อยู่ส่วนใดของตับอ่อน มะเร็งจะพบมาก ที่ส่วนหัวของตับอ่อน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการของตัวเหลือง ตาเหลือง จากการอุดตันของท่อน้ำดี ที่หัวตับอ่อนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะคลำได้ก้อนที่ท้อง ตับโต ถุงน้ำดีโต เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มะเร็งตับอ่อนที่เกิดขึ้นที่ส่วนตัวและส่วนปลายของตับอ่อน จะมี อาการของการปวดท้องรวมกับปวดหลัง น้ำหนักลด ตับโต หรือมีอาการที่เกิดจากมะเร็ง กระจายไปยังที่อื่น เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไหปลาร้า

การตรวจวินิจฉัย "มะเร็งตับอ่อน"

การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือด หรือทางอุลตร้าซาวด์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ บางครั้งต้องใช้วิธีตรวจพิเศษ คือ การส่องกล้องและฉีดสีเข้าไปในท่อตับอ่อน เรียกว่า การทำ ERCP

การรักษา "มะเร็งตับอ่อน"

การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด การตัดเอามะเร็งออกพร้อมอวัยวะข้างเคียง เพื่อหวังผลในการ รักษาให้หายขาดได้ กรณีที่ตัดเอาก้อนมะเร็งออกไม่ได้การผ่าตัดเพื่อทำทางเบี่ยงน้ำดีเพื่อ ลดอาการดีซ่าน หรือทางเบี่ยงให้กระเพาะอาหารเพื่อลดการอุดตันของทางเดินอาหารยังเป็น วิธีการที่บรรเทาอาการผู้ป่วยได้ดีที่สุด สำหรับรังสีรักษาและเคมีบำบัดมักใช้ในรายที่ทำผ่าตัด ไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อประคับประคองอาการ


บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งตับ , ตับอ่อน , สตีฟ จ็อบส์

สตีฟ จ็อบส์ อำลาโลกวัย 56 ปี จากโรคมะเร็ง

ตับอ่อนอักเสบ

“มะเร็งตับ” ภัยสุขภาพที่ป้องกันได้


ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่เกิดบ่อยที่สุดของคุณสุภาพสตรี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะได้ผลดีเมื่อสามารถค้นหาโรคได้ในระยะเริ่มแรกโดยการตรวจภายใน มักจะรักษาโดยการผ่าตัด หรือการให้รังสีรักษา แต่หากพบโรคในระยะท้ายของโรคก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกน่าจะเป็นวิธีที่ดี

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

เมื่อไรจึงจะฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

มีคำแนะนำจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำว่าให้เริ่มฉีดเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี แต่อาจจะฉีดเมื่ออายุ 9 ปีก็ได้ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุดังกล่าวยังไม่มีการติดเชื้อ HPV และช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่

นอกจากนั้นยังแนะนำว่าว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 13-26 ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรจะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน

จะต้องฉีดกี่เข็ม

ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ฉีดสามเข็มคือ เข็มที่สองและสามห่างจากเข็มแรกสองและสี่เดือนตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิได้เต็มที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV

    ครั้งที่1ให้ฉีดตามที่กำหนด
    ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน
    ครั้งที่ 3 ห่างจากเข็มแรกประมาณ 6 เดือน

สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปี หรือมีเพศสัมพันธุ์แล้วยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนหรือไม่

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะมีภูมิต่อเชื้อ HPV type 6, 11, 16 และ 18 ดังนั้นหากท่านยังไม่ได้รับเชื้อดังกล่าว ท่านก็ยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน สำหรับท่านที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน ท่านมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปแล้วอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน


วัคซีนนี้อันตรายหรือไม่

เท่าที่มีการใช้ไป 16 ล้านเข็ม มักจะมีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ไข้ต่ำๆ เหมือนคนเป็นหวัด เวียนศีรษะเล็กน้อย ผลข้างเคียงรุนแรงก็พบได้น้อย

คนที่ฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องทำ PAP Smear หรือไม่

การตรวจภายในยังคงมีความจำเป็นแม้ว่าคุณได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว เพราะการตรวจภายในจะสามารถตรวจโรคอื่นได้ด้วย

วัคซีนนี้จะให้ในคนท้องได้หรือไม่

ขณะนี้ยังไม่แนะนำให้ในคนท้องเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพในคนท้อง และยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อทารก หากทราบว่าตั้งครรภ์หลังจากฉีดไปหนึ่งเข็ม แนะนำให้หยุดฉีดวัคซีนจนกระทั่งคลอดบุตรแล้วจึงฉีดต่อ

สำหรับท่านที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนจะป้องกันตัวเองอย่างไร

การติดต่อของเชื้อ HPV ติดต่อโดยทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นควรจะสวมถุงยางอนามัย และไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน และงดการสูบบุหรี่

วัคซีนนี้จะป้องกันได้นานแค่ไหน

จากการศึกษาเบื้องต้นวัคซีนนี้สามารถอยู่ได้นาน แต่กำลังศึกษาว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นหรือไม่

วัคซีนนี้ใช้กับผู้ชายได้หรือไม่

การติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์การให้วัคซีนนี้ในผู้ชายน่าจะได้ประโชน์การป้องกันหูด และมะเร็งที่ทวาร แต่เนื่องจากอัตราการเกิดโรคยังต่ำจึงไม่แนะนำ แต่เรื่องการป้องกันมะเร็งยังไม่มีข้อมูล แต่ผลโดยอ้อมน่าจะลดการติดเชื้อ HPV ในผู้หญิง

ก่อนจะต้องตรวจว่าเคยติดเชื้อ HPV มาก่อนหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีดวัคซีน เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าเคยติดเชื้อ HPV มาก่อนหรือไม่ การเจาะหาภูมิต่อเชื้อก็ยังทำไม่ได้

ต้องตรวจทำ PAP ฉีดวัคซีนหรือไม่

ขึ้นกับประวัติการมีเพศสัมพันธ์ และประวัติการตรวจภายใน

    หากไม่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถฉีดวัคซีนได้เลย
    หากมีประวัติเพศสัมพันธ์มาก่อน
        หากไม่เคยทำ PAP ก็ให้ทำ PAP เพื่อคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก
            หากผลปกติก็ให้ฉีดวัคซีนได้
            หากผลผิดปกติก็ให้รักษาตามมาตรฐาน
        หากตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอก็ให้ฉีดวัคซีนได้

วัคซีนนี้จะป้องกันโรคหูดได้ทุกชนิดหรือไม่

เนื่องจากวัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ทุกชนิดดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลุกได้ทั้งหมดคือจะป้องกันมะเร็งปากมดลุกได้ประมาณร้อย70 และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

สรุปท้ายบท

    วัคซีนนี้จะป้องกันมะเร็งปากมดลูกเฉพาะสายพันธ์ที่วัคซีนนั้นผลิต
    วัคซีนนี้จะป้องกันโรคหูดเฉพาะสายพันธ์ที่ผลิจในวัคซีน ส่วนสายพันธ์อื่นๆป้องกันไม่ได้
    วัคซีนนี้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกเฉพาะสาเหตุที่เกิดจากการติดเชื้อหูดที่วัคซีนนั้นป้องกัน ส่วนสาเหตุอื่นของการเกิดมะเร็งก็ป้องกันไม่ได้
    หลังฉีดวัคซีนยังคงต้องตรวจหามะเร็งปาดมดลูกอยู่โดยการทำ PAP
    วัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น
    แม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบก็ต้องมีความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ไม่เปลี่ยนคู่นอน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งหากไม่แน่ใจ

http://www.siamhealth.net/public_html/vaccination/cervical_vaccine.htm

มะเร็งมดลูก วิธีรักษาและข้อมูลน่ารู้

 วีณา อายุ 45 ปี เธอเป็นคนอ้วนที่มีน้ำหนักตัวถึง 70 กิโลกรัม แต่เนื่องจากเธอไม่มีภาระมาก จึงมีเวลาไปออกกำลังกายกับแม่บ้านคนอื่น ๆ กีฬาที่เธอโปรดปรานคือการว่ายน้ำ หลังจากว่ายน้ำเสร็จเธอก็มักจะไปรับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อน ๆ โดยสั่งอาหารตามใจชอบ ทำให้น้ำหนักของเธอไม่ลดลงเลยแม้จะว่ายน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอก็ตาม แต่อยู่ ๆ ก็มีอาการผิดปกติของรอบเดือน เธอมีประจำเดือนติดต่อกันยาวนานกว่า 10 วัน และไม่มีทีท่าว่าจะหยุด เธอจึงไม่สามารถไปว่ายน้ำได้
     จนเวลาผ่านไปครึ่งปี วีณาพบว่าประจำเดือนของเธอมาเร็วกว่าปกติถึง 2 สัปดาห์ และครั้งนี้มาแค่ 2 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลก ทำไมเธอถึงมีความผิดปกติของประจำเดือนเกิดขึ้นนานถึง 3 เดือน เมื่อเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง ทุกคนต่างบอกเธอว่าเป็นอาการของช่วงประจำเดือนหมดในสตรีที่อายุระหว่าง 45-50 ปี ที่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หารู้ไม่ว่านั่นเป็นอาการของโรคร้ายที่กำลังมาเยือน
     หลังจากอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นครั้งนั้น ผ่านไปประมาณ 1 ปี พบว่ามีก้อนแข็งเกิดขึ้นที่หน้าอกด้านขวาของเธอ ทันทีเธอนึกไปถึงมะเร็งเต้านม จึงรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลและได้ทราบว่าเป็นก้อนมะเร็งจริง ๆ แต่ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ทว่าซ้ำร้ายหลังจากตรวจอย่างละเอียดกลับพบว่าเธอเป็นโรคมะเร็งมดลูกด้วย เพราะเหตุใดเธอถึงป่วยเป็นมะเร็งพร้อมกันถึง 2 ที่ แล้วจะทำการรักษาอย่างไรต่อไป

     กลุ่มเสี่ยง
     ผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมามากเกินไป บางครั้งหายไป หรือมาบ้าง ไม่มาบ้าง เกิดกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 35-80 ปี และอายุมากกว่า 50 ปี

     อาการที่พึงระวัง
    มีประจำเดือนนานกว่าปกติ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ช่วงประจำเดือนแต่ก็มีเลือดไหลออกมา หรือมีอาการผิดปกติในช่วงหมดประจำเดือนและเข้าใจว่าเป็นอาการปกติของวัยหมดประจำเดือน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปตรวจเพื่อหาสาเหตุก่อนที่จะสายไป

     ลักษณะของโรค
     โรคมะเร็งมดลูก เกิดจากการที่มีเนื้อร้ายไปเจริญเติบโตบริเวณด้านหลังของมดลูก ส่วนใหญ่มักเกิดกับสตรีที่อยู่ในช่วงอายุ 45 ปี และหลังหมดประจำเดือนแล้ว โดยประจำเดือนจะมาผิดปกติ เช่น มาระยะสั้นบ้าง ยาวบ้าง มาเร็วหรือช้าบ้าง รวมไปถึงการมีเลือดออกที่ไม่ใช่ประจำเดือนปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้รู้ถึงการเป็นมะเร็งมดลูกนั่นเอง นอกจากนี้มีผู้หญิงจำนวนมากเข้าใจว่า อาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของการหมดประจำเดือน จึงไม่ได้สนใจ จนเนื้อร้ายนั้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นมะเร็ง
     การที่มะเร็งเต้านมเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับมะเร็งมดลูก จะเรียกว่า"โรคมะเร็งซ้ำซ้อน" เพราะไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งเต้านมต่างก็มาจากความผิดปกติของความสมดุลของฮอร์โมนในสตรี ดังนั้นมะเร็งทั้งสองชนิดนี้จึงมักเกิดและเติบโตในเวลาไล่เลี่ยกันสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฮอร์โมนในสตรีเกิดความผิดปกติก็คือ ความอ้วน คนอ้วนซึ่งมีไขมันในร่างกายสะสมอยู่มากจะมีฮอร์โมนหลั่งออกมาตลอดเวลา และอวัยวะที่มีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนมากที่สุดก็คือมดลูกและเต้านมนั่นเอง
     กรณีของมะเร็งซ้ำซ้อนซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนสตรี เป็นระยะเวลานาน ๆ จนเอสโตรเจนออกมามากผิดปกติ และไปกระตุ้นอวัยวะที่ไวต่อฮอร์โมนบริเวณเต้านมกับบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก โดยจะถูกกระตุ้นพร้อมกัน อาจจะมดลูกก่อนและอาจจะมาเป็นเต้านมทีหลังอีกที แต่เป็นกรณีที่พบได้ไม่มากนัก ปัจจุบันมีคนเป็นโรคมะเร็งในลักษณะนี้มากขึ้นเนื่องจากผู้หญิงไทยในปัจจุบันมีภาวะของโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น
     มะเร็งมดลูกสามารถรักษาหายได้ หากรู้ตัวตั้งแต่ระยะแรก ๆ คือเป็นระยะที่ 1 พบว่าประมาณ 70% ขึ้นไป สามารถหายภายใน 5 ปี ระยะที่ 2 จะตรวจพบประมาณ 50% ผู้ป่วยจะสามารถมีชีวิตรอด 5 ปี ระยะที่ 3 จะตรวจพบประมาณ 30% ระยะที่ 4 มีประมาณ 10%
     จากสถิติการเป็นมะเร็งมดลูกของคนไทย พบว่า คนไทยเป็นมะเร็งมดลูก ปีละ 1.7% ของมะเร็งในผู้หญิง พบในช่วงอายุ 35-80 ปีประมาณ 1.73% และประมาณ 65.7% พบในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และประมาณ 50% ของมะเร็งมดลูก พบในคนอ้วนและอีก 50% พบในสตรีที่ไม่มีบุตร

     วิธีการรักษาโรคมะเร็งมดลูก
     การตรวจมะเร็งมดลูกสามารถทำได้โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ว่ามีความหนาเกิน 1 เซนติเมตรหรือไม่ ถ้าเกินถือว่าผิดปกติ โดยเริ่มจากการทาเจลที่บริเวณหน้าท้อง เพื่อเป็นตัวนำคลื่นเสียงความถี่สูงให้ผ่านไปยังเนื้อเยื่อง่ายขึ้น จากนั้นจะนำหัวตรวจอัลตราซาวนด์ไปวางที่หน้าท้อง จากนั้นภาพก็จะปรากฏบนหน้าจอ เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป

     รู้ไว้ ไกลโรคมะเร็งมดลูก
     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และควรไปรับการตรวจเต้านมและมดลูก โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป รวมถึงสตรีที่ไม่มีบุตรซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง

     ***ภาพจำลองการเติบโตของมะเร็งในเวลาเดียวกัน***
     ***ร่างกายที่มีไขมันสะสมอยู่มากจะมีฮอร์โมนหลั่งออกมาตลอดเวลา***

     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นพ.ทวีศักดิ์ หาญพานิชเจริญ  สูติ-นรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

http://www.joelookyoung.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81.html

มะเร็งปากมดลูก

ระยะของมะเร็งปากมดลูก ( Stages of cervical cancer )

หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่าเซลล์มะเร็งกระจายไปที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

หรือไม่ ข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจเพิ่มเติมจะนำมาใช้ประกอบการจำแนกระยะของโรคได้ เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาต่อไป

การตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่ามะเร็งอยู่เฉพาะในปากมดลูกหรือกระจายไปส่วนอื่นๆของร่างกายนั้น ได้แก่

- การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด  เป็นการเอ็กซเรย์ของอวัยวะที่อยู่ในช่องอก เช่น ปอด หัวใจ และกระดูกเป็นต้น การเอ็กซเรย์

คือ การส่งลำพลังงาน ชนิดหนึ่งผ่านร่างกายของคนไปตกลงบนฟิล์ม ทำให้เกิดรูปภาพของอวัยวะต่างๆของร่างกาย

- การถ่ายเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นการสร้างชุดของภาพที่มีรายละเอียดของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งถูก

ถ่ายมาจากมุมที่แตกต่างกัน รูปภาพที่ได้มานั้นถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องเอ็กซเรย์ นอกจากนี้อาจมีการฉีดสาร

ทึบรังสีเข้าสู่เส้นเลือดดำหรือกลืนสารทึบรังสีเพื่อช่วยในการมองดูภาพของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

- การถ่ายภาพระบบน้ำเหลือง ( Lymphangiogram ) เป็นการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของระบบน้ำเหลือง โดยจะมีการฉีด

สารทึบรังสีเข้าไปในหลอดน้ำเหลืองที่เท้า แล้วสารทึบรังสีนั้นจะเคลื่อนที่ขึ้นผ่านต่อมน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลืองต่างๆ และจากนั้น

ก็จะมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ภาพที่ได้จะบอกถึงการอุดกั้นของระบบน้ำเหลือง ซึ่งจะบอกได้ว่ามะเร็งกระจายไปยังที่ต่อมน้ำเหลืองใดบ้าง

- การผ่าตัดเพื่อประเมินระยะของโรคก่อนการรักษา (Pretreatment surgical staging) เป็นการผ่าตัดเพื่อหาว่ามะเร็ง

นั้นอยู่เฉพาะที่ปากมดลูกหรือกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายในบางรายมะเร็งปากมดลูกอาจถูกตัดออกไปทั้งหมดในขณะเดียวกันนี้

ด้วยการผ่าตัด เพื่อประเมินระยะของโรคนี้มักจะทำในส่วนหนึ่งของการทดลองเท่านั้น

- การตรวจอัลตราซาวน์ ( Ultrasound exam ) เป็นการตรวจที่ใช้เสียงที่มีพลังงานสูงผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ

ภายใน จากนั้นจึงมีการสร้างออกมาเป็นภาพการถ่ายภาพจากการสั่นพ้องพลังแม่เหล็ก หรือ เอ็ม อาร์ ไอ ( MRI ) เป็นการใช้แม่เหล็ก

คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ในการสร้างชุดของรายละเอียดของภาพของร่างกาย

ผลของการตรวจต่างๆจะถูกนำมาแปลผลร่วมกับผลของการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อจะบอกถึงระยะของมะเร็งปากมดลูก

การกระจายของมะเร็งปากมดลูกนั้นมี 3 วิธี

การกระจายของมะเร็งปากมดลูกไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกายมี 3 วิธี คือ

1.กระจายผ่านเนื้อเยื่อ  มะเร็งจะลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติที่อยู่รอบๆ

2.กระจายผ่านระบบน้ำเหลือง  มะเร็งจะลุกลามเข้าในระบบน้ำเหลืองแล้วจากนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านหลอดน้ำเหลืองไปสู่

ส่วนอื่นๆของร่างกาย

3.กระจายผ่านระบบเลือด  มะเร็งจะลุกลามเข้าไปในเส้นเลือดดำและเส้นเลือดฝอย แล้วจากนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านเส้นเลือด

ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

เมื่อเซลล์มะเร็งกระจายจากก้อนมะเร็งต้นกำเนิดผ่านไปทางหลอดน้ำเหลือง หรือเส้นเลือดต่างๆ ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายนั้น

อาจจะเกิดการสร้างตัวเป็นก้อนมะเร็งขึ้นมาใหม่ในที่อื่นๆ การกระจายของก้อนมะเร็งดังกล่าวนั้น เรียกว่า เมแทสเตสิส ( metastasis )

หรือ การกระจายของมะเร็ง ก้อนมะเร็งที่กระจายนั้นจะมีเซลล์ชนิดเดียวกันกับมะเร็งต้นกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามะเร็งเต้านมกระจายไป

ยังกระดูก เซลล์มะเร็งที่พบที่กระดูกจะเป็นเซลล์มะเร็งเต้านม ไม่ใช่มะเร็งของกระดูก

ระยะของมะเร็งปากมดลูกแบ่งได้ดังนี้

ระยะที่ 0 ( พบเซลล์ผิดปกติแต่ไม่ใช่มะเร็ง – Carcinoma in situ )

ระยะที่ 0 คือการตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณผิวนอกสุดของปากมดลูกโดยยังไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ผิดปกตินี้อาจจะ

กลายเป็นเซลล์มะเร็ง ในเวลาถัดมาและอาจกระจายไปยังเนื้อเยื่อปกติบริเวณนั้นได้ ระยะที่ 0 เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Carcinoma in situ

ระยะที่ 1

ระยะที่ 1 คือการตรวจพบมะเร็งอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น ในระยะที่ 1 นี้แบ่งออกเป็น ระยะ    1 เอ (1A) และ ระยะ 1 บี (1B)

ซึ่งแบ่งโดยขนาดของมะเร็งที่ตรวจพบ

ระยะ 1A เป็นระยะที่พบมะเร็งน้อยมาก สามารถเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ระยะนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นระยะ 1 เอ 1

(1A1) และระยะ 1 เอ 2 (1A2) โดยแบ่งจากขนาดของมะเร็ง

ระยะ 1A1 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 มิลลิเมตร และ ความกว้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 มิลลิเมตร

ระยะ 1A2 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกมากกว่า 3 มิลลิเมตร แต่ไม่มากกว่า 5 มิลลิเมตร และ ความกว้างน้อยกว่าหรือ

เท่ากับ 7 มิลลิเมตร

ระยะ 1B เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกมากกว่า 5 มิลลิเมตร หรือ ความกว้างมากกว่า 7 มิลลิเมตร หรือสามารถมองเห็น

มะเร็งได้ด้วยตาเปล่า โดยมะเร็งจะยังคงอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น ระยะนี้สามารถแบ่งออกเป็น ระยะ 1 บี 1 (1B1) และระยะ 1 บี 2 (1B2)

โดยแบ่งจากขนาดของมะเร็ง

ระยะ 1B1 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 4 เซนติเมตร

ระยะ 1B2 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร

ระยะที่ 2

ระยะที่ 2 คือการตรวจพบมะเร็งกระจายออกไปจากปากมดลูกแล้วแต่ยังไม่ถึงเนื้อเยื่อของผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน

( pelvic wall ) หรือมีการกระจายไปยังช่องคลอดแล้วแต่ยังไม่ถึงหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด ระยะที่ 2 นี้ยังแบ่งออกเป็น

ระยะ 2 เอ (2A) และ 2 บี (2B) ซึ่งแบ่งโดยความไกลในการกระจายของมะเร็ง

ระยะ 2A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกไปยังสองในสามส่วนบนของช่องคลอด แต่ยังไม่มีการกระจายเข้าไปใน

เนื้อเยื่อข้างตัวมดลูก

ระยะ 2B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกไปยังเนื้อเยื่อข้างตัวมดลูก

ระยะที่ 3

ระยะที่ 3 คือการตรวจพบว่ามะเร็งกระจายออกไปยังหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด โดยอาจจะมีการกระจายไปยังผนังด้าน

ข้างของอุ้งเชิงกราน และ/หรือ ทำให้ไตทำงานได้แย่ลง ในระยะที่ 3 นี้แบ่งออกเป็น ระยะ 3 เอ (3A) และ ระยะ 3 บี (3B) ซึ่งแบ่งโดย

ความไกลในการกระจายของมะเร็ง

ระยะ 3A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด แต่ยังไม่มีการกระจายไปยังผนังด้านข้างของ

อุ้งเชิงกราน                          

ระยะ 3B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน และ/หรือ มะเร็งขยายตัวไปกดบริเวณท่อไต (Ureter)

ทำให้เกิดการอุดตันของระบบปัสสาวะทำให้ไตมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำงานได้แย่ลง ในระยะนี้อาจจะพบว่า เซลล์มะเร็งกระจายไปยัง

ต่อมน้ำเหลือง ภายในอุ้งเชิงกราน

ระยะที่ 4

ระยะที่ 4 คือการตรวจพบว่ามะเร็งกระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก หรือส่วนอื่นๆของร่างกาย ในระยะนี้จะแบ่งออก

เป็นระยะ 4 เอ (4A) และ ระยะ 4 บี (4B) ซึ่งแบ่งจากตำแหน่งที่มะเร็งกระจาย

ระยะ 4A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะหรือทวารหนัก

ระยะ 4B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากอุ้งเชิงกราน ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ช่องท้อง ตับ ลำไส้ หรือปอด เป็นต้น


ที่มา
http://www.chulacancer.net/newpage/information/cervix_cancer04.html